วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2565

การประเมิน ITA


การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ 
(Integrity and Transparency Assessment: ITA)


        การประเมิน ITA เป็นเครื่องมือที่คำนึงถึงการเก็บข้อมูลอย่างรอบด้านและหลากหลายมิติ การกำหนดระเบียบวิธีการประเมินผลที่เป็นไปตามหลักการทางวิชาการเพื่อให้ผลการประเมินสามารถสะท้อนสุขภาวะขององค์กรในด้าน คุณธรรมและความโปร่งใสได้อย่างแท้จริงโดยมีการเก็บข้อมูลจาก 3 ส่วน ดังนี้

        ส่วนที่ 1 : แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal Integrity and Transparency Assessment) หรือแบบวัด IIT โดยเปิดโอกาสให้บุคลากรภาครัฐทุกระดับที่ปฏิบัติงานมาไม่น้อยกว่า 1 ปี ได้มีโอกาสสะท้อนและแสดงความคิดเห็นต่อคุณธรรมและความโปร่งใสของหน่วยงานตนเอง

ตัวชีวัดที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่
ตัวชีวัดที่ 2 การใช้งบประมาณ 
ตัวชีวัดที่ 3 การใช้อำนาจ 
ตัวชีวัดที่ 4 การใช้ทรัพย์สินของราชการ 
ตัวชีวัดที่ 5 การแก้ไขปัญหาการทุจริต

        ส่วนที่ 2 : แบบวัดการรับรู้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment) หรือแบบวัด EIT โดยเปิดโอกาสให้ผู้รับบริการหรือผู้ติดต่อหน่วยงานภาครัฐในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้มีโอกาสสะท้อนและแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

ตัวชีวัดที่ 6 คุณภาพการดำเนินงาน 
ตัวชีวัดที่ 7 ประสิทธิภาพการสื่อสาร 
ตัวชีวัดที่ 8 การปรับปรุงระบบการทำงาน

        ส่วนที 3 : แบบวัดการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment) หรือแบบวัด OIT เป็นการตรวจสอบระดับการเปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานภาครัฐที่เผยแพร่ไว้ทางหน้าเว็บไซต์หลักของหน่วยงาน

ตัวชีวัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล
    ตัวชีวัดย่อยที่ 9.1 ข้อมูลพื้นฐาน 
    ตัวชีวัดย่อยที่ 9.2 การบริหารงาน 
    ตัวชีวัดย่อยที่ 9.3 การบริหารเงินงบประมาณ 
    ตัวชีวัดย่อยที่ 9.4 การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล 
    ตัวชีวัดย่อยที่ 9.5 การส่งเสริมความโปร่งใสและการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
ตัวชีวัดที่ 10 การป้องกันการทุจริต 
    ตัวชีวัดย่อยที่ 10.1 การดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริต 
    ตัวชีวัดย่อยที่ 10.2 มาตรการภายในเพื่อป้องกันการทุจริต

คู่มือการประเมิน ITA 2566 (ITA Manual 2023)


ปฏิทินการประเมิน ITA 2566 


ตัวอย่าง O10 นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล



O39 ประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ



แนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย No Gift Policy



แนวทางการประเมินความเสี่ยงการทุจริต (O34)



โดย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ : สำนักงาน ป.ป.ท

หมายเหตุ : ตัวอย่างรูปแบบความเสี่ยงการทุจริต อยู่หน้าที่ 57 - 64


FAQ

📌คำถามที่พบบ่อย📌






ช่องทางการติดต่อ 

Line Open Chat : ITA อ่างทอง


 

FB : ปปช อ่างทอง NaccAngthong

035-613822 (เวลาราชการ)
096-7740824 (ตลอด 24 ชั่วโมง)







***********************************************



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แนวทางการจัดทำข้อ O42 มาตราการส่งเสริมคุณธรรมและควารมโปร่งใสในหน่วยงาน และ แนวทางการจัดทำ ข้อ O43 การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและคว...